ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

อาการปวดหัว หายได้ ถ้ารักษาตรงจุด

“จากประสบการณ์ที่หมอตรวจคนไข้ปวดศีรษะมานับ 10 ปี สาเหตุหลักที่คนไข้รักษาอาการปวดหัวแล้วไม่หาย เกิดจากการรักษาไม่ตรงจุด ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหาจริง ๆ ค่ะ สิ่งที่คนปวดศีรษะต้องการในความรู้สึกหมอกลับเป็นเรื่องของการให้เวลา และความใส่ใจในการตรวจให้มากที่สุดค่ะ เพราะส่วนมากท่านที่เป็นมานานมักมีปัญหาบางอย่างซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะความเครียด ความกังวล หรือปัญหากล้ามเนื้อ พอรักษาได้ถูก อาการก็จะดีขึ้นได้เร็วเลยค่ะ”

อาการปวดหัว

อาการปวดศีรษะส่วนมากเป็นสาเหตุที่รักษาหายได้ค่ะ ซึ่งจากตำแหน่งการปวดก็สามารถบอกสาเหตุคร่าว ๆ ได้เยอะมาก เช่น ปวดหัวตุ๊บ ๆ ปวดบีบ ๆ ปวดข้างเดียว ปวดเบ้าตา ปวดน้ำตาไหล อาการที่แสดงออกมาต่างกัน รวมทั้งตำแหน่งและอาการปวด เราสามารถแยกสาเหตุได้คร่าว ๆ ซึ่งจะมี 4 แบบที่เจอกันบ่อย ๆ ดังนี้ค่ะ

1.อาการปวดจากกล้ามเนื้อตึง

อาการปวดศีรษะแบบนี้ เจอได้บ่อยที่สุด คนไข้จะมีอาการปวดเหมือนมีอะไรมาบีบหรือรัดที่ศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณรอบๆ หน้าผาก ขมับ หรืออาจจะลามไปถึงท้ายทอยได้ อาการปวดชนิดนี้มักจะไม่ได้รุนแรง ปวดแค่พอรำคาญ มึนๆ ยังฝืนทำงานได้ แต่อาจจะรู้สึกเหมือนหัวไม่โล่ง อาจคลื่นไส้แต่ไม่ถึงขั้นอาเจียน อาการนี้ทานแค่ยาแก้ปวดเช่น พาราเซตามอล ก็อาจจะดีขึ้น หรือถ้าได้พักผ่อนอาจจะหายได้เอง  

ส่วนใหญ่มักเกิดจากความเครียด นอนไม่หลับ ทำงานเยอะ หรือการนั่งทำงานนานๆจนเกิดไป หรือมีอาการปวด ตึง คอ บ่าไหล่ ก็กระตุ้นอาการปวดแบบนี้ได้ค่ะ

2.ปวดไมเกรน

เป็นอาการปวดบ่อยอันดับ 2 เลยค่ะ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงวัยรุ่น วัยทำงาน สัก 20-40 ปี จะเจอได้ถึง 20-30% เลยค่ะ ในกลุ่มเพื่อน 10 คน จะต้องมีเพื่อนเป็นไมเกรน อย่างน้อยสัก 2 คนแล้ว คนก็เลยจะคุ้นเคยกับชื่อนี้ และอาจจะได้ยามาทาน ทั้งๆที่เราก็อาจจะไม่ใช่ไมเกรนก็ได้ 

วิธีเช็คอาการง่ายๆ ว่าเราเป็นไมเกรนหรือเปล่า แบ่งออกเป็น 4 ข้อเลยค่ะ หมอใช้คำว่า P U M A 
P - pulsatile คือ อาการปวดจะค่อนข้างจำเพาะ จะปวดแบบตุ๊บๆ เหมือนเส้นเลือดตุ๊บๆ
U - unilateral คือมักจะปวดข้างเดียว โดยเฉพาะบริเวณขมับไปถึงท้ายทอยได้ แต่บางคนที่เป็นบ่อยๆ ก็อาจจะมีอาการสลับข้างไปมาได้ หรือถ้าเเป็นเยอะมากก็ลามไป 2 ข้างได้ค่ะ
M - moderate intensity คือจะปวดค่อนข้างรุนแรง ปวดจนอาเจียน มากกว่าการปวดจากกล้ามเนื้อตึง           
A - aggravate by activity เวลาทำงานหรือออกแรง แล้วมีอาการปวดมากขึ้น เช่น การเดิน หรือการขึ้นบันได

เวลาปวดแต่ละครั้งก็จะค่อนข้างรุนแรงและนานหลายชั่วโมง เช่น 3-4 ชั่วโมง ไปจนถึง 2-3 วันได้ ต้องนอนพักอยู่ในที่นิ่งๆ เงียบๆ หรือต้องทานยาจึงจะดีขึ้น มักไม่ค่อยหายได้เอง ถ้ายิ่งมีเสียงดังๆ หรือแสงจ้าๆ ก็อาจจะกระตุ้นได้

อาการปวดศีรษะไมเกรนนี้ เกิดจากมีปัจจัยมากระตุ้นระบบเส้นเลือดและเส้นประสาทที่สมอง ทำให้เกิดการหลั่งสารบางตัว CGRP ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว และเกิดเป็นความปวดขึ้นมา ซึ่งปัจจัยกระตุ้นก็มีได้เยอะมาก ตั้งแต่ กลิ่น อาหารบางอย่าง ฮอร์โมน เช่นประจำเดือน อากาศร้อนๆ ความเครียด อดนอน หมอแนะนำว่าถ้าคนที่เป็นไมเกรน ก็ควรจะไปพบแพทย์นะคะ ที่เจอปัญหาบ่อยมากคือ คนไข้มักจะไปซื้อยามาทานเอง ซึ่งมีข้อเสียคือ อาจจะไม่ได้เป็นไมเกรน แล้วได้ยาไม่ถูกจุด หรือ เป็นไมเกรนจริงๆ แต่กินยาเอง จนสุดท้ายอาจจะปวดศีรษะจากยาแทนได้ค่ะ
 

3.ปวดคลัสเตอร์

อาการปวดชนิดนี้ ก็จะคล้ายๆกับไมเกรน เจอได้ไม่บ่อย มักจะเจอในผู้ชายมากกว่า ในกลุ่มช่วงอายุสัก 30-50 ปี ลักษณะอาการปวดจะปวดเด่นที่กระบอกตา ปวดในลูกตา จนรู้สึกมีตาแดง น้ำตาไหล หนังตาตกร่วมด้วยได้ เพราะมีการกระตุ้นของเส้นประสาทใบหน้าร่วมด้วย คนไข้กลุ่มนี้เวลาปวดมักจะทรมานมาก กระสับกระส่าย แต่อาการจะเป็นช่วงสั้นๆกว่า ประมาณ 15 นาที จนถึงไม่เกิน 3 ชั่วโมง คำว่าคลัสเตอร์ แปลว่าเป็นชุดๆ เป็นกลุ่มก้อน คนไข้กลุ่มนี้จะมีลักษณะจำเพาะ คือ เวลาปวด มักจะมาเป็นชุดๆ ช่วงเวลาเดิมๆ ซ้ำๆกันค่ะ เช่นบางคนเป็นฤดูหนาว พอปีหน้า ช่วงเวลาเดียวกันอาจจะเป็นใหม่ และก็อาจจะกระตุ้นจากปัจจัยอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น อดนอน ความเครียด อากาศเปลี่ยน คนไข้กลุ่มนี้เวลาปวด แล้วไปซื้อยาทานเองมักไม่ค่อยหายค่ะ เพราะมักจะไม่ได้ตอบสนองต่อยาแก้ปวดทั่วๆไป อย่างเช่น พารา หรือพวก ibuprofen ต้องใช้ยาที่ค่อนข้างจำเพาะ

4.ปวดไซนัส

กลุ่มสุดท้ายที่เจอได้ อาจจะไม่ได้เป็นโรคปวดศีรษะโดยตรง แต่ก็เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้บ่อย คือ ไซนัสอักเสบค่ะ เพราะ ตำแหน่งของโพรงไซนัสจะอยู่รอบๆจมูก เหนือคิ้ว ทำให้เวลามีอาการอักเสบ การบวมของไซนัส หรือมีการติดเชื้อ ก็จะเกิดขบวนการอักเสบ บวม แดง ร้อน ทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปบริเวณรอบๆ ได้ ก็เลยปวดหัว แต่คนไข้กลุ่มนี้ก็จะมีอาการของไซนัสค่ะ เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก โดยเฉพาะถ้ามีกลิ่นเหม็น รู้สึกแน่นๆ บริเวณจมูกหรือใบหน้า หรืออาจจะมีไข้ต่ำๆได้ ซึ่งอันนี้ก็ต้องให้หมอ หู คอ จมูก ตรวจรักษาต่อไปค่ะ

ที่ H8 clinic หมอมักพบว่าคนไข้ที่มีอาการปวดศีรษะมานาน ๆ ส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อรอบ ๆ ศีรษะ และกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่อักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาบริเวณศีรษะ ขมับ กระบอกตา บางท่านก็อาจจะมีอาการชา คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง หูอื้อ ตาพร่ามัว ร่วมด้วยได้ค่ะ 
 
แต่การที่หมอจะวินิจฉัยว่า คนไข้ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อ ก็ต้องทำการตรวจ และซักประวัติอย่างละเอียดก่อนค่ะ ว่าสาเหตุอาการปวดนั้นไม่ได้มาจากเรื่องในสมอง รวมถึงการตรวจร่างกาย จะต้องพบจุดกดเจ็บชัดเจนบริเวณคอ บ่า ไหล่ ที่เราเรียกว่า Trigger point

สำหรับการรักษาอาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อ หมอจะใช้ PMS , Ultrasound และ High power laser รวมถึง Traction Therapy เป็นการรักษาหลักค่ะ ซึ่งในท่านที่ปวดศีรษะอยู่มาก ๆ แล้วมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อจริง ๆ หลังการรักษา จะพบว่าอาการดีขึ้นได้ถึง 50-90% ตั้งแต่ครั้งแรกค่ะ
 

อาการปวดหัวที่ต้องรีบรักษา

สำหรับอาการปวดศีรษะ ที่อาจจะบอกว่าเป็นโรคอันตรายในสมอง เช่น โรคหลอดสมอง เนื้องอกสมอง หรือการติดเชื้อในสมอง ส่วนมากจะมีอาการปวดที่แตกต่างจากอาการปวดทั่วไป แม้จะเจอได้น้อย แค่ 1-2% เท่านั้น แต่ก็อันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นถ้าใครมีอาการต่อไปนี้ข้อใดข้อนึง หมอแนะนำว่า ควรรีบพบแพทย์ด่วนเลยนะคะ

1.ปวดรุนแรงมากที่สุดในชีวิต แบบไม่เคยปวดมาก่อน
ทุกคนต้องเคยมีอาการปวดศีรษะอย่างน้อยสักครั้งในชีวิต แต่ถ้าอาการปวดนั้นเป็นไม่รุนแรง พอรำคาญ เรามักจะยังไม่ทำอะไร หรือคนไข้บางกลุ่มก็จะมีอาการปวดหัวเรื้อรังเป็น ๆ หายๆ จนรู้อาการของตัวเองแล้วว่า ต้องปวดประมาณไหน ดังนั้น หากวันไหนที่มีอาการปวดศีรษะ แบบปวดขึ้นมาเฉียบพลันทันที ปวดรุนแรงมากที่สุด ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เคยปวดแบบนี้มาก่อน ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ เพราะอาจจะต้องระวังภาวะเส้นเลือดสมองแตก หรือเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง

2.ปวดจนอาเจียนพุ่ง
ปกติเวลาปวดหัวอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้อยู่แล้ว อาจจะพะอืดพะอม รู้สึกไม่อยากทานอาหาร หรืออาจจะทานอาหารแล้วอาเจียน แต่มักจะไม่ถึงขั้นอาเจียนพุ่ง คือ อาการอาเจียนหลังตื่นนอน และอาเจียนโดยที่ไม่สัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร ซึ่งอาเจียนลักษณะนี้อาจจะต้องระวังว่าเกิดจากสาเหตุที่มีความดันในสมองสูงขึ้น เช่น เนื้องอกในสมอง สมองบวม เลือดออกในสมองเป็นต้น

3.ปวดมากขึ้นตอนลุกนั่ง
โดยเฉพาะหากถ้านอนไม่มีอาการปวด แต่พอเปลี่ยนมานั่ง แล้วมีอาการปวดมากขึ้น หรือปวดจนอาเจียน ทำให้นั่งหรือยืนไม่ได้ ต้องนอนตลอดเวลา อาการนี้ต้องระวังความดันในโพรงสมองต่ำ ซึ่งเกิดจากการที่มีรูรั่วของน้ำในโพรงสมอง จากอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลัง หรือ เกิดตามหลังการบล็อคหลังเพื่อผ่าตัดได้ค่ะ

4.มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท
อาการผิดปกติทางระบบประสาทมีได้ตั้งแต่ ตามัว เห็นภาพซ้อน แขนขาชาและอ่อนแรง พฤติกรรมเปลี่ยน คิดช้า พูดช้า ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด นึกคำไม่ออก รวมไปถึงอาการชัก ซึมลง การที่มีอาการปวดหัวและความผิดปกติทางระบบประสาทอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมด้วย เป็นการบอกว่า น่าจะมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นในสมอง เช่น มีก้อน มีความดันในสมองสูง สมองบวม ซึ่งสาเหตุก็อาจจะเป็นได้ตั้งแต่ เนื้องอก ติดเชื้อ หรือเลือดออกในสมองได้

5.มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย
ถ้าปวดศีรษะ แล้วมีอาการร่วมด้วย เช่น ไข้ และน้ำหนักลด ทั้งสองอาการนี้ บ่งชี้ว่าอาจจะมีการติดเชื้อ ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง หรืออาจจะเป็นติดเชื้อที่ตำแหน่งอื่นๆ และทำให้มีอาการปวดศีรษะได้ และหากมีร่วมกับน้ำหนักลดที่ชัดเจน (ลดลงมากกว่า 5% จาก baselineใน 3 เดือน) ก็ควรระวังกลุ่มเนื้องอกด้วย หรือถ้ามีโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง เช่น HIV ทานยากดภูมิคุ้มกัน ก็ต้องระวังเรื่องการติดเชื้อมากขึ้น

6.อายุมากกว่า 50 
หากมีอาการปวดศีรษะครั้งแรกในชีวิตหลังอายุ 50 ปี โดยที่ไม่เคยปวดมาก่อน ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่นๆออกไปก่อนคะ
 

วิธีแก้ปวดหัว

สำหรับการรักษาที่ H8 clinic นั้น หมอมีความตั้้งใจอยากให้ทุกท่านหายปวดศีรษะได้จริง โดยใช้การรักษาแบบ Neuro-Rehabilitation ผสมผสานทั้งศาสตร์ของโรคสมอง และการกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะให้ได้ผลดีมากที่สุดค่ะ โดยขั้นตอนการรักษาที่ H8 clinic มีดังนี้ค่ะ

1.หาสาเหตุอาการปวดศีรษะที่แท้จริง 
โดยหมอจะใช้การพูดคุย เพื่อหาว่าอะไรคือสิ่งกระตุ้น อาการปวดเป็นแบบใด น่าจะเกิดจากสาเหตุไหนมากที่สุด และใช้การตรวจร่างกาย เพื่อยืนยันการวินิจฉัยค่ะ

2.ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
สำหรับในท่านที่หมอสงสัยว่าอาจมีสาเหตุจากโรคในสมองได้ หมอก็จะทำการส่งตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น MRI  หรือการตรวจเลือด เพื่อประกอบการรักษาค่ะ

3.ทำการรักษา
เมื่อหมอวินิจฉัยได้แล้วว่า อาการปวดศีรษะไม่ได้เกิดจากโรคในสมอง แต่เกิดจากสาเหตุบางอย่างที่รักษาได้ เช่น กล้ามเนื้อ ไมเกรน หรือคลัสเตอร์ ก็จะเสนอวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละท่านค่ะ บางท่านอาจจะต้องใช้ยารักษา บางท่านแค่ใช้เครื่องมือกายภาพก็เพียงพอ หรือบางท่านควรใช้ทั้งยา และทำกายภาพบำบัดควบคู่กันทั้งสองอย่างค่ะ

4.ติดตามอาการ
 หลังการรักษา หมอจะมีการนัดติดตามอาการเป็นระยะ เพื่อปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมต่อไปค่ะ

1. PMS คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบ Focus

ยี่ห้อ BTL ประเทศอังกฤษ 
เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ได้ผลดีมาก 
ทั้งปัญหากล้ามเนื้อ
และเส้นประสาท ยิงลึกได้ถึง 10 CM. 
เห็นผลตั้งแต่ครั้งแรก

2. Ultrasound Therapy อัลตราซาวน์ความร้อนลึก

ยี่ห้อ Enraf ประเทศเนเธอร์แลนด์
ช่วยกระตุ้นซ่อมแซม
กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท 
และข้อต่อต่าง ๆ อย่างเฉพาะเจาะจง

3. High Power Laser เลเซอร์พลังงานสูง

ยี่ห้อ BTL ประเทศอังกฤษ
คลื่นแสงที่สามารถผ่านผิวหนังไป
ถึงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ได้ถึง 10 cm
ลดอาการบวม ปวดเฉียบพลันและเรื้อรัง

4. Traction Therapy เครื่องดึงคอและหลัง

ยี่ห้อ BTL ประเทศอังกฤษ
ช่วยแก้ปัญหากระดูกต้นคอ และ
กระดูกสันหลัง ช่วยปรับสมดุล
และลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ

รีวิวจากลูกค้าจริง

ทำความรู้จักหมอนุ่ม

หมอนุ่ม (พญ. ศุภมาศ วิบูรณ์สุขสันต์) เป็นหมอด้านโรคระบบประสาทและสมอง เน้นการรักษาด้วยการใช้ยา และปรับพฤติกรรมเป็นหลัก โรคที่รักษาจะมีตั้งแต่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้ามืด ตามัว อาการชา อ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาต พาร์กินสัน โรคลมชัก และ สมองเสื่อม

 

"หมอเป็นแพทย์มา 13 ปี และดูแลคนไข้โรคสมองมา 7 ปี จะเห็นว่าคนที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดศีรษะเยอะมากๆ ค่ะ และคนไข้ส่วนใหญ่มักยังมีความเข้าใจผิด เช่นมีความกังวล กลัวว่าจะเป็นโรคที่ร้ายแรง เช่นเนื้องอกในสมอง หรือบางท่านก็คิดว่า อาการปวดหัว นอนไม่หลับ เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ต้องกินยาไปเรื่อยๆ ซึ่งจริงๆแล้ว สาเหตุของอาการปวดหัวมีเยอะมาก และมีทั้งที่รักษาและป้องกันให้หายขาดได้ ซึ่งบางคนทนมาหลายปี ทั้งที่จริง ๆ แล้วรักษาให้หายขาดได้ค่ะ ยิ่งในสภาวะปัจจุบัน ที่ความเครียดพุ่งสูงปรี๊ด คนที่มีปัญหาปวดหัว นอนไม่หลับ ยิ่งเยอะมากขึ้นอีก หมอจึงอยากให้ H8 clinic เป็นที่ที่ให้คำปรึกษา และรักษาคนไข้ได้อย่างตรงจุด เพื่อให้คนไข้ได้กลับมาใช้ชิวิตอย่างมีความสุขค่ะ"

แวะชมเพจของคุณหมอ

เขียนบทความให้หน่วยงานต่างๆ