ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

รับมืออย่างไร? เมื่อเป็นไมเกรนในที่ทำงาน

นั่งทำงาน อยู่ในห้องแอร์เย็น ๆ ใครว่าเป็นไมเกรนไม่ได้ วันนี้ H8 clinic จะพาคุณผู้อ่านทุกท่านมาเตรียมตัวให้พร้อมเอาไว้ เมื่อต้องพบเจอกับ ภาวะปวดหัวไมเกรน ในที่ทำงานค่ะ คนที่เป็นไมเกรนหลาย ๆ คน คงจะทราบถึงภาวะอาการเตือนก่อนที่จะเริ่มปวดหัวไมเกรน หรือที่เรียกกันว่า ภาวะ Aura กันเป็นอย่างดี เพราะนั่นหมายถึง สัญญาณบ่งบอกว่าอีกไม่นาน อาการปวดหัวสุดทรมานที่แสนคุ้นเคยกำลังจะกลับมา เมื่อเป็นแล้วควรทำอย่างไร? มาดูวิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นไมเกรนในที่ทำงาน รวมถึง ควรทำอย่างไรเมื่อปวดหัวไมเกรนในที่ทำงานกันเลยค่ะ

หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นในที่ทำงานที่ทำให้เกิดไมเกรน

สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปวดหัวไมเกรนได้นั่นก็คือ คือ ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดไมเกรน คราวนี้เรามาดูสิ่งกระตุ้นไมเกรนในที่ทำงาน ที่หลาย ๆ คน มักมองข้ามกันดีกว่าค่ะ

  • น้ำหอมปรับอากาศ
  • แสงสว่างจ้า จากดวงไฟ หรือ หน้าจอคอมพิวเตอร์
  • เสียงรบกวนจากภายนอก
  • การกินอาหารไม่ตรงเวลา
  • การดื่ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (หรือบางท่าน อาจจะเกิดจากขาดคาเฟอีน)
  • การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเร็ว ๆ (เช่นออกไปทานข้าวข้างนอกร้อนจัด แล้วกลับมาอยู่ในห้องแอร์เย็นจัด)
  • ความเครียดจากการทำงาน ใช้ความคิดมากเกินไป
     

สิ่งกระตุ้นไมเกรนบางข้อที่กล่าวมานั้น บางอย่างก็เป็นสิ่งกระตุ้นที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ค่ะ เช่น การเพ่งจอคอมพิวเตอร์ที่มีแสงจ้านาน ๆ การกินข้าวไม่ตรงเวลาเพราะทำงานค้าง หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานฉีดน้ำหอมฉุนเกินไป ส่งผลให้การเกิดไมเกรนในที่ทำงานนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อย แต่เมื่อเป็นแล้วควรปฏิบัติอย่างไรและจัดการอย่างไรไม่ให้เกิดในที่ทำงาน มาดูกันค่ะ

บอกเจ้านายของคุณให้เข้าใจเกี่ยวกับอาการของคุณ  ความถี่ ความรุนแรง และ ช่วงเวลาปวด ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน อย่ากลัวที่จะบอกเจ้านายถึงอาการปวดหัวเนื่องจากไมเกรนของคุณเลยค่ะ เพราะหากนายจ้างของคุณไม่เข้าใจในโรคไมเกรน เช่นนั้นแล้วอาจเกิดการเข้าใจผิดได้ เช่น พฤติกรรมการลางานบ่อยครั้ง หรือ การลาป่วยกะทันหัน สามารถแก้ปัญหาได้โดย การให้แพทย์ที่ทำการรักษาคุณเขียนข้อความถึงนายจ้างของคุณเพื่อยืนยันว่าคุณเป็นโรคไมเกรน และ อธิบายอาการของคุณที่เป็นสาเหตุทำให้ทำงานไม่ได้ค่ะ

รับมือกับความเครียดในที่ทำงานให้ได้  เข้าใจตนเองและหาวิธีกำจัดความเครียดในการทำงานของคุณเพื่อไม่ให้เกิด ภาวะเครียดสะสมจากการทำงาน ที่อาจส่งผลทำให้เกิดไมเกรนได้ เช่น ทำงานให้ยืดหยุ่น โดยจัดการแบ่งเวลาทำงานและเวลาพักจากการทำงานให้สมดุลกัน เช่น พักสมองและสายตาของคุณ ประมาณ 10 ถึง 15 นาที แล้วกลับมาทำงานต่อ รวมถึงการเลิกคิดถึงงานที่ทำถึงแม้จะเลิกงานไปแล้ว ให้คุณเปลี่ยนความคิดว่า เวลางานคือเวลางาน และ เวลาพักคือการพักผ่อน ใช้เวลาดูแลตัวเองและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็ช่วยลดอาการกระตุ้นไมเกรนได้ค่ะ

เข้ารับการรักษาอาการปวดไมเกรน เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในการทำงานของคุณอีกต่อไป การเข้ารับการรักษาไมเกรน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อให้ประสิทธิภาพในการทำงานและคุณภาพชีวิตดีขึ้น วิธีการรักษาไมเกรนนั้น มีอยู่หลากหลายวิธี โดยสามารถรักษาได้ด้วย การรักษาแบบไม่ใช้ยา , การรักษาด้วยยาแก้ปวด หรือ ยาป้องกันไมเกรน , การรักษาด้วยการฉีดโบท็อกซ์ และอย่างสุดท้ายคือ การรักษาด้วยยาฉีดไมเกรน ซึ่งการรักษาแต่ละประเภทนั้น จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง และ ความถี่ของอาการปวด โดยคุณหมอจะเลือกให้เหมาะสมกับอาการของแต่ละท่าน เพื่อให้ได้รักษาอาการปวดของผู้ป่วยอย่างตรงจุด และ สามารถที่จะหายขาดจากอาการไมเกรนได้ ดังนั้นใครที่มีอาการไมเกรนกำเริบบ่อย ๆ โดยทั่วไปคือประมาณมากกว่า 4 ครั้งต่อเดือน หรือปวดละครั้งรุนแรงจนต้องลางาน ขาดงาน ทานยาแก้ปวดบ่อย ๆ ก็แนะนำให้มารักษาไมเกรนดีกว่าค่ะ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทนทรมานต่อไป และยังให้ทำงานได้ดีขึ้นด้วยค่ะ